ผีสาง พิธีกรรม กรงขังทุนนิยม กับเงาความโกรธแค้นที่ถูกล่ามเป็นผีในจิตใจเรา

Madi Soir #5 : Revenant (2013) ในสังคมที่การสร้างความประทับใจ กับอำนาจเงินตราเติมเต็มซึ่งกันและกัน เราโอบกอดความรู้สึกโกรธเกลียดในร่างกาย ได้เท่าเทียมกับความรู้สึกอื่นขนาดไหน? ในหนึ่งวัน กี่เหตุการณ์ที่ต้องเก็บความรู้สึกโกรธแค้นเอาไว้ นิ่งเฉย พยักหน้า ปั้นหน้ายิ้ม กล่ำกลืนมันลงลำคอ ในเงาของเรา ความโกรธแค้นถูกผลักไสให้อยู่ได้เเค่ในนั้น สั่งสม กรีดร้องก้อง รอวันปะทุออก ผีในเรา มันรอวันที่เราอ่อนแอ ยอมแพ้ เหนื่อยอ่อน เปลี่ยนหน้ากากเปื้อนหน้ายิ้มจอมปลอม เป็นรอยยิ้มแสยะของมัน แต่ยอมรับได้ไหมว่ายิ้มนั้นมันอาจจริงแท้กว่า? ในสนามแข่งขันที่ขับเคลื่อนด้วยความโกรธเกลียด ผีตนนั้นในเรา มันจะช่วยให้เราไปถึงฝั่งฝัน เราจะเลือกกำมันไว้แน่น ฉกฉวยใช้งานมัน หรือปลดพันธนาการมัน…

ผีสาง พิธีกรรม กรงขังทุนนิยม กับเงาความโกรธแค้นที่ถูกล่ามเป็นผีในจิตใจเรา
ผีสาง พิธีกรรม กรงขังทุนนิยม กับเงาความโกรธแค้นที่ถูกล่ามเป็นผีในจิตใจเรา

ขาว ดำ เทา เรื่องตลก ที่ทำให้ขำออกมาเป็นเสียงหัวเราะแบบ Masterpiece

Mardi Soir #4: Milan Kundera, 1967 (แปลไทย ภัควดี วีระภาสพงษ์, 2022) — ‘เรื่องตลก’ — วรรณกรรมเล่มแรกของมิลาน คุนเดอราในปี 1967 กับฉบับแปลไทยครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว(2022) ส่วนเราที่เคยอ่านงานของมิลาน คุณเดอราครั้งแรกก็คือฟิน เป็นเรื่องตลกร้ายคุณภาพแบบ Masterpiece กับความยาว 320หน้าภาษาไทย ที่ไม่ได้ย่อยง่ายหรือยากเกินไป อัดแน่นไปด้วยการเปลี่ยนผ่านทางมุมมองกับค่านิยมทางการเมืองแห่งยุคสมัย (ช่วงรุ่งเรืองของพรรคคอมมิวนิสต์แบบสุดโต่งในเชโกสโลวาเกีย กับการรุกรานของสตาลิน) ที่เหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับนักอ่านเบบี๊รอบบินต่ำอย่างเรา แต่วิธีการเล่าเรื่อง ผ่านภาษาทางความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีความเป็นเรื่องส่วนตัว ผ่านขั่วตรงข้ามของความเป็นเมือง-ชนบท, ดนตรีพื้นบ้าน-ดนตรีร่วมสมัย, อเทวนิยม-คริสตจักร กลับทำให้เชื่อมโยงกับบริบททางการเมืองของโลกตัวเองได้ง่ายดี สนุกระหว่างอ่าน แล้วค่อยไปเปิดประวัติศาสตร์อ่านต่อทีหลังก็ยังได้

ขาว ดำ เทา เรื่องตลก ที่ทำให้ขำออกมาเป็นเสียงหัวเราะแบบ Masterpiece
ขาว ดำ เทา เรื่องตลก ที่ทำให้ขำออกมาเป็นเสียงหัวเราะแบบ Masterpiece

กวีกำลังจะตาย ซีดจาง บนเสียงธารชีวิต

Mardi Soir #3: Quick Journal, Poetry (Lee Chang Dong, 2010) — มีจาอยากเขียนกวี มีจาตามหาเสียงภายใน มีจาตามหาชีวิต ทั้งๆที่มันอยู่ตรงหน้าอย่างชัดเจน เธอพบเสียงของเธอ ในวันที่ชีวิตกำลังจะเดินจากเธอไป Poetry (lee Chang Dong, 2010) : Psychodrama เรื่องราวของคุณยายที่เลี้ยงหลานชายแทนลูกสาว เธอกำลังใช้ชีวิตบันปลายอย่างเงียบเชียบ แต่โรคร้ายอย่างอัลไซเมอร์ กับเหตุการณ์กระโดดแม่น้ำฆ่าตัวตายของนักเรียนหญิงที่ถูกรุมข่นขื่นโดยกลุ่มนักเรียนที่มีหลานตนไปเอี่ยวด้วย ส่งเสียงดังกระเพื่อม แสดงตน สะท้อนออก เน้นย้ำความอัปลักษณ์ของชีวิตภายใต้ชุดสีสันสดใสที่เธอชอบใส่ ในขณะเดียวกับที่เธอกำลังตามหาเสียงของตัวเองในฐานะนักเขียนกวี นำไปสู่การค้นพบตัวตน ทั้งตัวตนวัยเด็กภายใน และตัวตนในการเป็นผู้เจ็บปวดร่วม ไม่ว่าจะในฐานะผู้หญิง หรือในฐานะมนุษย์ผู้ถูกกระทำจากแรงกดทับของรากเน่าแห่งสังคมปิตาธิปไตย โดยมีบทกวีเป็นสื่อกลาง…

กวีกำลังจะตาย ซีดจาง บนเสียงธารชีวิต
กวีกำลังจะตาย ซีดจาง บนเสียงธารชีวิต
แด่ความโกรธ ในยุคสมัยแห่งหน้ากากเปื้อนยิ้มอันปริแตก และ อีกา
แด่ความโกรธ ในยุคสมัยแห่งหน้ากากเปื้อนยิ้มอันปริแตก และ อีกา
Tuesday Evening

Poet Wannabe, Post-consumerist Practitioner, Sense Experimenter, & the Devil’s Advocate. Trying to merge all into my pieces here.